รศ.ดร.ธิตินันธุ์ ชาญโกศล รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์วิจัยและพัฒนาศักยภาพองค์กร คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยภายหลังการเข้าร่วมการสัมมนาความทันสมัยแบบอัตลักษณ์และโอกาสใหม่ของโลก ซึ่งจัดโดย ศูนย์เอเชีย-แปซิฟิก สถานีวิทยุ โทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน ( China Media Group หรือ CMG) โดยได้รับสนับสนุนจาก กระทรวงการอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม (อว.) ร่วมด้วย ศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางและสามาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านคลังสมอง ผู้แทนภาคธุรกิจและตัวแทนสื่อมวลชนกระแสหลักเข้าร่วมประชุมกว่า 100 คน เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ว่า “ แนวคิดความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้ที่เพิ่งผ่านการรับรองและสามบานตนให้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของจีนติดต่อกันมาหลายสมัย ได้ทำให้เศรษฐกิจของภูมิภาคมีศักยภาพการพัฒนามากขึ้นและยังเป็นการเปิดโฉมหน้าใหม่ที่น่าท้าทายแก่อาเซียนที่ควรมองเป็นแบบอย่าง รวมไปถึงการมีเส้นทางรถไฟ จีน-ลาว-ไทย ที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างจีนกับอาเซียนได้มากขึ้น ( ตามคำกล่าวของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงว่าเส้นว่า เส้นทางนี้ทำให้ “ภูเขาก็ไม่สูงอีกต่อไปและถนนก็ไม่ยาวอีกต่อไป”) นี่คือการส่งเสริมการร่วมมือสร้างสรรค์ประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกันระหว่างจีน-อาเซียน ที่สำคัญ การที่จีนหลุดพ้นจากความยากจนและผลักดันให้ชนบทฟื้นฟูความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันนั้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีน ความทันสมัยไม่เพียงแต่ปรากฏในทางด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในเมืองเท่านั้น แต่ควรเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างแท้จริง การหลุดพ้นจากความยากจนขั้นรุนแรงของประชากร 1.4 พันล้านคนของจีน เป็นคุณูปการของความทันสมัยแบบจีนต่อโลก”
ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม กล่าวในการปาฐกถาพิเศษว่า “ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง แนวคิดการพัฒนาระดับโลกและประชาคมแห่งโชตชะตาร่วมกัน เป็นการเปลี่ยนแปลงโลกครั้งใหญ่ ในขณะเดียวกันการพัฒนาความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างจีนและไทย จะเป็นแรงผลักดันสำคัญในการพัฒนาภูมิภาค โดยเฉพาะการสัมมนาความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนกำลังแสดงให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้อีกประการหนึ่งของการพัฒนาความทันสมัย ผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีนทำให้เราเห็นว่าวิสัยทัศน์อันไกลโพ้นของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ซึ่งสามารถนำพาประเทศที่มีประชากร 1.4 พันล้านคนหลุดพ้นจากความยากจนและก้าวออกจากเส้นทางที่ทันสมัยนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย”
ดร.วิรุฬห์ พิชัยวงศ์ภักดี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย – จีน กล่าวว่า “แนวคิดประชาชนสำคัญที่สุด ผลประโยชน์ร่วมกันและการพัฒนาอย่างสันติแบบ win-win เป็นหลักสำคัญของแนวคิดการสัมมนาความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ประเทศจีนนำวัคซีนโควิด-19 เป็นผลิตภัณฑ์สาธารณะเพื่อช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนา จีนใช้เวลาสิบปีในการส่งเสริมความร่วมมือ ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ และส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางรถไฟระหว่างจีนกับลาว-ไทย ซึ่งเป็นการแสงให้เห็นถึงการสัมมนาความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ประกาศระหว่างการเยือนไทยในปี 2565 ว่าจีนและไทยจะสร้างประชาคมร่วมชะตากรรมจีน-ไทยที่มีเสถียรภาพ มั่งคั่งและยั่งยืนยิ่งขึ้น ทำให้ไทยจีนสามารถร่วมมือในหลักหลายด้านยิ่งขึ้น”
นายภูวนารถ ณ สงขลา นายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน กล่าวว่า “ความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนเป็นแผนงานของจีน การแสดงภูมิปัญญาแบบจีน เชื่อว่าความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนจะผลักดันให้จีนมีความเจริญรุ่งเรืองและมีส่วนร่วมในการพัฒนาโลก โดยมีความแข็งแกร่งของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความแข็งแกร่งของชาติแบบบูรณาการและเศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตอย่างมั่นคงท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก โดยเชื่อว่าจีนกำลังก้าวไปสู่ความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีน”
คุณแทนคุณ จิตต์อิสระ ที่ปรึกษากระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า “ความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนช่วยส่งเสริมการยกระดับอุตสาหกรรมของจีน การพัฒนาของจีนกำลังเป็นประโยชน์ต่ออาเซียน จีนเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของไทย และยังเป็นผู้รักษาเสถียรภาพของห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่อุตสาหกรรมโลก การพัฒนาที่มั่นคงของเศรษฐกิจจีนได้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก”