بازی انفجار سایت پیش بینی سایت شرط بندی
"นวัตกรรมพลาสมา พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างสรรค์วิถีใหม่" งานวิจัย มศว ทรงคุณค่าสู่ชุมชน สร้างเศรษฐกิจสู่สังคมไทย - PRswu

“นวัตกรรมพลาสมา พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างสรรค์วิถีใหม่” งานวิจัย มศว ทรงคุณค่าสู่ชุมชน สร้างเศรษฐกิจสู่สังคมไทย

ผลงานสิ่งประดิษฐ์ ” นวัตกรรมพลาสมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างสรรค์วิถีใหม่ ” ผลงานวิจัยโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงแข บุตรกูล / อาจารย์ ดร.พสุ เรืองปัญญาโรจน์ / อาจารย์ ดร.สิทธิพงศ์ วงศ์ไชยสุวรรณ อาจารย์ประจำวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2566 ระดับดี สาขาสังคม
การนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ทรงเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566” (Thailand Investor’s Day 2023) และพระราชทานเกียรติบัตรให้แก่ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ได้แก่ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2566 จำนวน 165 คน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงแข บุตรกูล (อาจารย์ประจำหลักสูตรอัญมณีและเครื่องประดับ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มศว) กล่าวว่า “เราอยากจะพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ของชุมชนโดยใช้ความรู้ด้านนวัตกรรมและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน นำลวดลายอัตลักษณ์ของชุมชนย้อมห้อมที่ทุ่งโฮ้ง จังหวัดแพร่ มาสร้างผลิตภัณฑ์อันทรงคุณค่าและทำให้การย้อมผ้าสีไม่ตก เป็นการสร้างภูมิปัญญาใหม่ให้เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติและการสร้างรายได้ของชุมชน ซึ่งเรามีเครือข่ายคือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีเทคโนโลยีพลาสมา คือคณะวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ดร.เสวต อินทรศิริ และคณะ เป็นคณะร่วมทำงานวิจัยมาด้วยกันอย่างต่อเนื่องในงานวิจัยหลายๆ งานวิจัย และเรามีตัวอย่างชุมชนที่มีอัตลักษณ์คือการย้อมห้อมธรรมชาติของจังหวัดแพร่ที่สำคัญคือเป็นงานวิจัยที่จับต้องได้และมีประโยชน์ต่อคนรุ่นใหม่ได้ด้วยนอกจากชุมชนและสังคม จากผลงาน “นวัตกรรมพลาสมาสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างสรรค์วิถีใหม่” โดยบูรณาการ วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม ศิลปศาสตร์ การบริหารจัดการ พัฒนาชุมชนนวัตกรรม การนำไปใช้ประโยชน์เชิงหัตถอุตสาหกรรม สืบสานภูมิปัญญาและวิถีชีวิตงดงามของจังหวัดแพร่ โดยมีจุดมุ่งหมายนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยอย่างยั่งยืน
อาจารย์ ดร.พสุ เรืองปัญญาโรจน์ (อาจารย์ประจำหลักสูตรอัญมณีและเครื่องประดับ มศว) “เราเลือกเอาจังหวัดท่องเที่ยวที่มีความน่าสนใจ แพร่หลายและนำเอาปีนักษัตรคือปีเสือซึ่งเป็นปีประจำพระธาตุช่อแฮ พระธาตุสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่มาประดิษฐ์ทำเป็นอัญมณีและเครื่องประดับด้วยนวัตกรรมพลาสมา”
อาจารย์ ดร.สิทธิพงศ์ วงษ์ไชยสุวรรณ (อาจารย์ประจำหลักสูตรผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มศว) “ส่วนตัวผมก็โฟกัสที่วัสดุและเทคโนโลยี จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดที่มีไม้สักและผลิตผ้าย้อมจากสีต้นห้อมที่ให้สีน้ำเงินครามคล้ายกับสีจากต้นครามที่ให้สีครามน้ำเงินหรือสีอินดิโก้ (Indigo) จนมีผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าย้อมคราม ย้อมห้อม สีจากพืชในธรรมชาติทั้ง 2 ชนิดนี้ แต่งานวิจัยเราเป็นการนำเทคโนโลยีจากพลาสมาไปทำให้เกิดกระบวนการย้อมสีจากห้อมแล้วสีไม่ตกก็ด้วยนวัตกรรมพลาสมา”

 

Share