بازی انفجار سایت پیش بینی سایت شرط بندی
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบเก๊าท์ ห้ามกินธัญพืชและผัก...จริงหรือไม่ ? ควรกินและไม่ควรกินอะไร ? - PRswu

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบเก๊าท์ ห้ามกินธัญพืชและผัก…จริงหรือไม่ ? ควรกินและไม่ควรกินอะไร ?

อาจารย์แพทย์หญิงวรกานต์  ทิพย์สิงห์  อายุรแพทย์โรคข้อและรูมาติซั่ม ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เผยว่าโรคข้ออักเสบเก๊าท์ (gouty arthritis) คือ โรคข้ออักเสบจากผลึกเกลือยูเรตที่ตกผลึกสะสมที่ข้อ และเนื้อเยื่อรอบข้อเกิดเป็นปุ่มก้อนตามร่างกายที่เรียกว่า โทฟาย (tophi) การตกผลึกของผลึกเกลือยูเรตเกิดจากระดับกรดยูริกในซีรั่มที่สูงเป็นระยะเวลานานเมื่อกรดยูริกในเลือดสูงจนเกินขีดจำกัดการละลายจะเกิดการตกผลึกในข้อและเนื้อเยื่อต่างๆ ระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูงที่ยังไม่มีอาการไปเป็นโรคเก๊าท์แตกต่างกันอย่างมากในแต่ละบุคคลซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายนอกและภายในร่างกาย ผู้ป่วยที่มีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงส่วนใหญ่ไม่มีอาการของโรคเก๊าท์ แต่มักจะมีกลุ่มอาการทางเมตาบอลิก (metabolic syndrome) ซึ่งได้แก่ โรคอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง ไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปในวงการแพทย์ว่ากลุ่มอาการเมตาบอลิกเป็นกลุ่มอาการที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease)

ดังนั้นโรคข้ออักเสบเก๊าท์ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ป่วยประสบความทุกข์ทรมานจากอาการปวดตามข้อหรือก้อนโทฟาย แต่ยังเป็นสัญญาณเตือนภัยถึงมัจจุราชเงียบอย่างโรคหลอดเลือดหัวใจ การรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูงและโรคเก๊าท์จึงเป็นหนึ่งในหนทางในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ การรักษาแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ การรักษาโดยการไม่ใช้ยา และการรักษาโดยการใช้ยา สำหรับการปฎิบัติตัวที่ถูกต้อง เริ่มต้นที่การออกกำลังกายทุกวันและลดน้ำหนัก เนื่องจากโรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับระดับกรดยูริกในซีรั่มที่สูงขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเก๊าท์ ควรดื่มน้ำวันละ 6 – 8 แก้ว งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด ควรหลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์ ควรจำกัดปริมาณเนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ และเนื้อหมู และปรับเปลี่ยนแหล่งของโปรตีนให้เป็นโปรตีนจากแหล่งอื่น เช่น นมไขมันต่ำ (Low fat dairy) เต้าหู้ ไข่ ธัญพืช และถั่ว เป็นต้น จากการศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารจำพวกถั่วแห้งและผัก ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการกำเริบโรคข้ออักเสบเก๊าท์ ซึ่งเป็นการลบล้างความเชื่อที่ผิดว่าการรับประทานถั่วและธัญพืชทำให้เก๊าท์กำเริบได้

อันดับต่อมาควรจำกัดการดื่มน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาล (sugar-sweetened soft-drink และbeverage) เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน  น้ำชาหรือกาแฟที่มีการผสมน้ำตาลหรือน้ำเชื่อมเพื่อปรับรสชาติ เป็นต้น ส่วนการรับประทานกาแฟหรือน้ำชาที่ไม่มีการผสมน้ำตาลหรือน้ำเชื่อมเพื่อปรับรสชาติเช่น กาแฟดำ ไม่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการกำเริบของข้ออักเสบเก๊าท์ และมีคำแนะนำให้รับประทานวิตามินซี ขนาด 500 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ทุกวัน อย่างต่ำเป็นเวลา 2 เดือน สามารถลดระดับกรดยูริกในเลือดได้ และการรักษาด้วยยาสำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบเก๊าท์จะแบ่งเป็น การป้องกันการกำเริบของเก๊าท์

📝 ข้อมูล :  อาจารย์แพทย์หญิงวรกานต์  ทิพย์สิงห์
ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน
ภาพ : สื่อสารองค์กร โรงพยาบาลชลประทานhttp://www.konkao.net

Share