بازی انفجار سایت پیش بینی سایت شرط بندی
16 ปี วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว - PRswu

16 ปี วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว

28 มกราคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนา วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)ในแนวคิด“ความงอกงาม วัฒนาความเป็นมนุษย์ ด้วยธรรมชาติคุณธรรมและวิถีสันติ”
วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดสอนในด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วัฒนธรรม ภูมิสังคมและการพัฒนาท้องถิ่น ตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 และแนวพระราชดำริโครงการบัณทิตคืนถิ่นของกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยตั้งอยู่ที่อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2551 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ในวันดังกล่าว ยังความปลาบปลื้มมาสู่ชาว มศว และประชาคมทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมแรงกายใจในการก่อตั้งวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว ในมิติใหม่เป็นวิทยาลัยแรกของ มศว ให้เป็นความหวังและที่พึ่งพาของชุมชน สังคม
จากการให้สัมภาษณ์ของรองศาสตราจารย์อำนาจ เย็นสบาย อดีตทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยและคณบดีคนแรกผู้มีส่วนสำคัญในการก่อตั้งวิทยาลัยโพธิวิชชาลัยนี้ ได้กล่าวว่า “วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย เป็นสถาบันหนึ่งที่เทียบเท่ากับคณะ ใน มศว ก่อตั้งเป็นหน่วยงานระดับอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน เกิดขึ้นด้วยหลากหลายภาคส่วน ประกอบด้วย 5 ภาคส่วน คือ ภาคีราชการและความมั่นคง (หน่วยงานราชการและทหาร ในจังหวัดสระแก้ว)
ภาคีวิชาการ (มศว และ กศน.) ภาคีธุรกิจเพื่อสังคม (บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด มหาชน) ภาคีประชาคมและสื่อ (สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและศูนย์พัฒนาข้อมูลสื่อฯ) ภาคีประชาชน (ผู้นำชุมชนและเกษตรกร)
ร่วมมือกันเป็นองค์กรเบญจภาคี ในการก่อตั้งสถาบันการศึกษาบนฐานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในวันที่ 28 มกราคม 2551 ในเวลานั้นก็ได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่ายและเป็นความยากยิ่งมากเช่นกันกับปัญหาต่างๆ อันเป็นอุปสรรคแต่ทุกอย่างก็ผ่านพ้นราบรื่นโดยเฉพาะการได้รับความร่วมแรงใจกับคนในพื้นที่ชุมชนวัฒนานครในการทำงานประสานร่วมกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนธุรกิจ ภาคประชาชน ภาคสังคมสื่อ พอมาถึงการตั้งชื่อวิทยาลัยก็คือ วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย ชื่อนี้มาจากสามคำที่มีความหมายมาผสานกัน ได้แก่ หนึ่ง คำว่า โพธิ (ผู้รู้) + สอง คำว่า วิชชา (วิชาการ) + และ สาม คำว่า ลัย (ที่อาศัย) รวมแล้วได้ใจความแปลวุ่า “ที่อยู่อาศัยของผู้มีวิชา รู้และเชี่ยวชาญบูรณาการศาสตร์ทั้งทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ที่เป็นฐานของการพัฒนาชุมชนและสังคม”ส่วนหลักสูตรของวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย จะเน้นการจัดการชุมชนบนฐานความสมดุลและยั่งยืนในทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยน้อมนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นฐานของการพัฒนาตลอดจนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม เพื่อการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ปัจจุบันวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มีหลักสูตรหรือสาขาวิชาที่เปิดสอนอะไรบ้าง ปัจจุบันวิทยาลัยเปิดสอน 2 หลักสูตร มี 4 วิชาเอก
1) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาการจัดการภูมิสังคมและวัฒนธรรม ประกอบด้วย
2 วิชาเอกคือ วิชาเอกการจัดการภูมิสังคม และวิชาเอกการจัดการภูมิวัฒนธรรม
2) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชานวัตกรรมเกษตรและการจัดการลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 2 วิชาเอกคือ วิชาเอกนวัตกรรมเกษตร และวิชาเอกการจัดการลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัย โพธิวิชชาลัยมีความพิเศษหรือแตกต่างจากที่อื่น
คือวิทยาลัยเน้นการเรียนการสอนบรรยายควบคู่การปฏิบัติหรือทดลองจริงที่หลากหลาย เน้นการเรียนรู้จากการได้ปฏิบัติงานจากสถานการณ์จริงของชุมชนหรือการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Based Learning) และมุ่งมั่นในการพัฒนาพื้นที่ปฏิบัติการชุมชน (Social Lab) สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาวิจัย และบริการวิชาการเพื่อประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืนในพื้นที่ วิทยาลัยโพธิวิชชาลัยทั้ง 4 แห่ง ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศ ได้แก่
1) วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว องครักษ์ (ต.องครักษ์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก)
2) วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว สระแก้ว (ต.หนองหมากฝ้าย อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว) ติดกับชายแดนประเทศกัมพูชา
3) วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว แม่สอด (ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก) ติดกับชายแดนประเทศสหภาพเมียนมาร์
4) โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว แม่แจ่ม (ต.ช่างเคี่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่) โรงเรียนนานาชาติ (พันธุ์

ผ่านมา 16 ปีแล้ววันนี้วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย นับเป็นวิทยาลัยที่ยังคงมีบทบาทสำคัญยิ่งของ มศว ในการสืบสาน รักษาและต่อยอดน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ไปสู่ภาคการปฎิบัติและเป็นสถาบันการศึกษาที่เป็นที่พึ่งของชุมชน สร้างโอกาสการศึกษาที่เท่าเทียมและเข้าถึงแก่เด็กชาติพันธุ์ เด็กขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมไปถึงเด็กที่ต้องการเป็นบัณฑิตคืนถิ่นที่ขาดโอกาสทางการศึกษาและช่วยให้พวกเขาเหล่านั้นได้มีอนาคตที่มั่นคงก้าวไกลตามแนวปรัชญาของมหาวิทยาลัย “การศึกษาคือความเจริญงอกงาม

 

Share