بازی انفجار سایت پیش بینی سایت شرط بندی
'หกล้ม' อันตราย - PRswu

‘หกล้ม’ อันตราย

“อาการหน้ามืด วิงเวียนศรีษะ” ปรับเปลี่ยนท่าทางหรืออริยาบทเช่น จากการนอนแล้วลุกขึ้น หรือนั่งอยู่แล้วลุกขึ้นทันทีทันใด อาการการเหล่านี้เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่หากเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุนั้นมีความอันตราย เป็นอีกสาเหตุทำให้เกิดการหกล้มในผู้สูงอายุดร.ศศินันทร์  วาสิน  พยาบาลชำนาญการพิเศษ สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว  ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้ความรู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและแนะนำการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุว่า ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุจากที่ทำงานส่งเสริมสุขภาพในชุมชนที่พบบ่อยคือ การหกล้ม ซึ่งการหกล้มที่เกิดขึ้นมีความเป็นอันตรายโดยผู้ดูแลผู้สูงอายุควรต้องเฝ้าระวัง และให้ความสำคัญ ทั้งนี้เพราะการหกล้มไม่ได้มีแค่อาการฟกช้ำแต่การบาดเจ็บในระดับรุนแรง อาจส่งผงให้กระดูกหักร่าวและอาจลุกลาม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิตในระยะยาว

“การหกล้มในผู้สูงอายุ อาจเกิดขึ้นจากหลายกรณี  โดยที่ผ่านได้เคยกล่าวถึงสาเหตุและแนะนำถึงวิธีการป้องกัน ทั้งนี้ ปัญหาการหกล้มของผู้สูงอายุ มีโอกาสเกิดขึ้นง่ายทั้งมีความอันตรายมากกว่าวันอื่นๆโดยปัจจัยเสี่ยงสองประการคือ ปัจจัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างการ และ ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น การวางสิ่งของไม่เป็นระเบียบกีดขวางทางเดิน พื้นลื่น แสงสว่างไม่เพียงพอฯ”

นอกจากนี้ร่างกายและความสามารถที่ลดลง อย่างเช่น การมองเห็นไม่ชัด สายตาผิดปกติ เดินเซ เคลื่อนไหวลำบาก หรือการรับรู้ที่ช้า โรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง รวมถึงการขาดการออกกำลังกาย สวมใส่รองเท้าและเสื้อผ้าที่ไม่พอดี หรือการรีบลุกขึ้นจากที่นั่ง หรือจากการตื่นนอนฯ ก็เป็นสาเหตุ

“การลุก นั่ง เปลี่ยนอิริยาบทในทันทีทันใดซึ่งอาจทำให้เกิดอาการหน้ามืด เบื้องต้นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุการหกล้มจึงควรค่อยๆลุกขึ้นนั่ง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยไม่ลุกและเดินไปในทันที นั่งประมาณสิบนาทีเพื่อให้หายหน้ามืด แต่อย่างไรก็ตาม หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยๆ ไม่ควรวางใจ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ”

การปฐมนิเทศเบื้องต้นด้านกรณีผู้สูงอายุเกิดอาการหน้ามืด ดร.ศศินันท์ ให้ความรู้ว่า ก่อนอื่นต้องพิจารณาสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน สภาพอากาษภายในห้องมีความร้อนหรือเย็นไปหรือไม่ ควรปรับให้มีความเหมาะสม นอกจากนี้ผู้ดูแลผู้สูงอายุควรทราบว่าผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวหรือไม่ เช่นเดียวกัน ผู้สูงอายุสังเกตอาการของตนเองและให้ความร่วมมือกับผู้ดูแลฯ

จากการอบรมเยาวชนในโครงการหมอจิ๋ว จะให้สังเกตอาการเบื้องต้น โดยเฉพาะก่อนทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย อย่างเช่นสังเกตการขยับนิ้วมือ หรือนิ้วเท้า หรือหากไม่แน่ใจไม่ควรทำการเคลื่อนย้าย หรือกรณีเกิดบากแผลถลอกเพียงเล็กน้อย จะทำแผลใส่ยาเบื้องต้น  ส้วนถ้ามีอาการปวดบวมเพิ่มขึ้น หรือมีอาการอื่นๆร่วมด้วย แนะนำให้รีบพบแพทย์

การประคบ เป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการปวดจากการบากเจ็บ กรณีหกล้ม เท้าแพลงสามารถใช้การประคบเย็นในเบื้องต้นได้ โดยการประคบเย็นจะช่วยให้เส้นเลือดหดตัวลงคลายความเจ็บลดความบวม การอักเสบ นอกจากนี้ การจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสมก็มีความสำคัญ ทั้งนี้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ

อย่างไรก็ตามการจัดบ้าน จัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านมีด้วยกันหลายวิธี แต่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือ ความสะอาด สะสางสิ่งที่ไม่ใช้ออกและจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบโดยทางเดิน ไม่ควรมีสิ่งกีดขวาง เพราะอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการสะดุดหกล้ม อีกทั้ง ภายในบ้านควรมีแสงสว่างเพียงพอ ส่วนถ้ามีพื้นต่างระดับควรทำสัญลักษณ์ให้ผู้สูงอายุมองเห็นได้ชัดเจน โดยอาจใช้สีสะท้อนแสงและในห้องน้ำควรมีราวจับ ฯลฯ โดยส่วนหนึ่งนี้จะช่วยป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น

การดูแลผู้สูงอายุที่ต้องระมัดระวังในเรื่อง “การหกล้ม” ที่ต้องเน้นย้ำก็เพราะ อายุที่เพิ่มขึ้น สุขภาพร่างกายย่อมมีการเปลี่ยนแปลง กระดูกที่เคยแข็งแรงอาจบางลง สิ่งที่ต้องเพิ่มความระมัดระวังและให้ความสำคัญมากในกลุ่มผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องของการป้องกัน การหกล้ม ซึ่งมักเกิดขึ้นได้ง่าย ทั้งนี้หากเกิดการหกล้ม กระดูกแตกหัก การฟื้นตัวอาจต้องใช้เวลายาวนานเพิ่มขึ้น

ข้อมูล : ดร.ศศินันทร์  วาสิน  พยาบาลชำนาญการพิเศษ สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ภาพ : สสส konkao ddproperty

Share