วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 ที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีกับผู้ช่วยศาสตราจารย์เมธี พันธุ์วราทร ในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้ดำรงตำแหน่ง “ผู้ช่วยศาสตราจารย์” สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ ทั้งนี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์เมธี พันธุ์วราทร เป็นศิษย์เก่า มศว ที่สำเร็จการศึกษา วุฒิ กศ.บ. (ดุริยางคศาสตร์ไทย) และ ศป.ม. (มานุษยดุริยางควิทยา) มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยและมีความรักผูกพันต่อองค์กรอย่างแท้จริง โอกาสนี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์เมธี พันธุ์วราทร ได้กล่าวแสดงความขอบคุณพร้อมกล่าวว่าตนเองจะทำหน้าที่ “ครูสอนดนตรี” ให้สุดความรู้ความสามารถ เพื่อให้สาขาดุริยางคศิลป์ มศว ของเรามีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้นไป และจะเป็นผู้สืบสาน รักษาและต่อยอดดนตรีไทยให้คงอยู่ พัฒนาปรับปรุงต่อไปเพื่อเป็นเอกลักษณ์มรดกของชาติไทยเพราะแม้แต่พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ท่านก็โปรดการทรงดนตรีไทยและทรงมีพระปรีชาสามารถทั้งทรงขับร้องเพลงไทยเดิมและทรงดนตรีไทยอย่างซอสามสายและระนาดเอก โดยเมื่อขึ้นชื่อว่าดนตรีหรือดุริยางค์แล้วก็ให้ทั้งความสุขและความรู้ที่สามารถที่ใช้ประกอบกิจการงานอาชีพได้ ล่าสุดก็มีนิสิตของดุริยางคศิลป์ไปประกวดร้องเพลงในรายการโทรทัศน์ต่างๆ ได้อย่างไม่เป็นสองรองใคร ซึ่งการเรียนการสอนดนตรีก็มีการปรับพัฒนาให้ร่วมสมัยมากขึ้นด้วยเช่นกันในปัจจุบัน

Related Articles
ศ.ดร.โกสุม จันทร์ศิริ รับรางวัลงานวิจัย “เหรียญทอง” “Rapid DNA strip test for COVID-19”
ขอร่วมแสดงความยินดีกับศาสตราจารย์ ดร.โกสุม จันทร์ศิริ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)…
เปิดใจ รองชลวิทย์ ผู้กุมบังเหียน “มศว เพื่อสังคม มหาวิทยาลัยรับใช้สังคม”
รศ.ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์เพื่อสังคม และ รักษาการแทนคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และเป็นผู้ประสานงานความร่วมมือทางวิชาการกับเครือ “มติชน” และรับบทบาทหน้าที่ใหม่ล่าสุดด้วยตำแหน่ง รองอธิการบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์เพื่อสังคม กับภารกิจใหญ่ทั้งเรื่องของแผนยุทธศาสตร์งบประมาณและงานกิจการเพื่อสังคมที่คุ้นเคยของมหาวิทยาลัย ตามนโยบายที่ท่านอธิการบดี รศ.ดร.สมชาย…
ผ้าไหมแนวทางใหม่ ในวิถีใหม่ (New Normal) งานวิจัยสร้างสรรค์ มศว เราจะอยู่กับผ้าไทยได้ทุกวัน
New Normal หรือวิถีใหม่ อาจมิได้หมายความเฉพาะการใช้ชีวิตใหม่ในช่วงที่ผู้คนทั่วโลกต่างกำลังเผชิญสู้กับโรคระบาดโควิด-19 ผ่านมาปีหนึ่งแล้วและไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ ในวงการแฟชั่นเองก็ได้มุ่งมั่นทำงานวิจัยใหม่ๆ ให้สอดรับกับการใช้ชีวิตวิถีใหม่ด้วยเช่นกัน เฉกเช่นงานวิจัยผ้าไหมไทยผสมผสานกับผ้าทอพื้นถิ่นหลากหลายของอาจารย์วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ร่วมกับกรมหม่อนไหม