เมื่อพูดถึงนิสิต นักศึกษาแลกเปลี่ยน เรามักจะนึกถึงเด็กไทยไปแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ แต่จริงๆ แล้ว ประเทศไทยก็เป็นจุดหมายปลายทางหนึ่งที่เด็กในหลายๆ ประเทศสนใจอยากจะมาศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเช่นกัน ยิ่งทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ชอบเมืองไทย และรักทุกๆ อย่างในประเทศไทย” ฟังแล้วก็ชื่นใจ
ครั้งนี้ SWU ZEED ได้มีโอกาสสัมภาษณ์นิสิตแลกเปลี่ยนจากประเทศฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี ที่มาเรียนคณะเศรษฐศาสตร์ และ วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน ว่าพวกเค้ารู้สึกอยากไรบ้างที่ได้มาแลกเปลี่ยนที่ มศว ได้รับประสบการณ์แบบไหน และได้เรียนรู้อะไรจากการมาแลกเปลี่ยนที่ประเทศไทย ติดตามอ่านบทสัมภาษณ์นี้กันค่ะ
– Please introduce yourself
(แนะนำตัวเองหน่อย)
I’m Andi Ibrahimi, 22 years old, and I live in Germany. I study at the faculty of Economics at the SWU.
(ผมชื่อ Andi Ibrahimi ครับ อายุ 22 ปี และอาศัยอยู่ที่เยอรมนี ผมศึกษาอยู่ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒครับ)
My name is Rob Waas, I am 23 years old and I come from The Netherlands/Holland. In Holland I am studying Tourism Management at Breda University of Applied Sciences and I am a senior student. Last year I have also studied at Srinakharinwirot University as an exchange student and this year I am studying at Srinakharinwirot University again for one semester. This year however I am studying at the Economics Faculty and the faculty of International College for Sustainabilities.
(ผมชื่อ Rob ครับ อายุ 23 ปี มาจากเนเธอร์แลนด์ หรือ ฮอลแลนด์ ที่ฮอลแลนด์ผมเรียนเกี่ยวกับ Tourism Management ที่ Breda University of Applied Sciences ผมศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 แล้ว ปีที่แล้วผมได้มีโอกาสมาศึกษาที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในฐานะนิสิตแลกเปลี่ยน และในปีนี้ผมกลับมาอีกครั้ง โดยมาศึกษาเป็นเวลา 1 เทอม ปีนี้ผมเรียนที่คณะเศรษฐศาสตร์และวิทยาลัยนานาชาติครับ)
I’m Malo Hamel, I am 20, I come from La Rochelle in France. My school in France is Excelia-Group. I am studying at SWUIC for one semester.
(ผมชื่อ Malo Hamel อายุ 20 ผมมาจาก La Rochelle ประเทศฝรั่งเศส ผมเรียนอยู่ที่ Excelia-Group และตอนนี้กำลังเรียนอยู่ที่วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืนเป็นเวลา 1 เทอมครับ)
I’m Teresa Raup, I am 23 years old, from Germany and study one semester at the Srinakharinwirot University at the Faculty of Economics. In Germany I study information management and corporate communication at the HNU (Hochschule Neu-Ulm).
(ฉันชื่อ Teresa Raup ค่ะ อายุ 23 ปี มาจากประเทศเยอรมนี และศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะเศรษฐศาสตร์ เป็นเวลา 1 เทอมค่ะ ที่เยอรมนี ฉันศึกษา information management and corporate communication ที่ HNU (Hochschule Neu-Ulm) ค่ะ)
– Have you ever known anything about Thailand before you visit here?
(ก่อนมาเมืองไทยคุณรู้อะไรเกี่ยวกับประเทศเราบ้าง)
Andi : Yes, I heard a lot about the beautiful islands and beaches in Thailand, but also about the culture.
(ครับ ผมได้ยินมามากเกี่ยวกับความสวยงามของเกาะ ทะเล ในประเทศไทย และยังมีวัฒนธรรมอีกด้วย)
Rob : Since I have studied here before in Thailand and since I made lots of Thai friends last year I do know some things about the Thai lifestyle and Thai culture, but I definitely want to learn more about Thai culture and experience more Thai activities.
(ปีที่แล้วผมได้มาเรียนที่นี่ มีเพื่อนคนไทยเยอะเลย เลยทำให้ผมพอรู้อะไรเกี่ยวกับการใช้ชีวิตและวัฒนธรรมไทยอยู่บ้าง แต่ผมยังอยากที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยและอยากลองทำกิจกรรมต่างๆ ในประเทศไทยมากกว่านี้)
Malo : I have been to Thailand in 2012 for holidays and I really enjoyed it that is why I wanted to come back, to know more about Thai culture and travel in many places.
(ผมเคยมาเที่ยวประเทศไทยเมื่อปี 2012 และผมสนุกมาก นั่นทำให้ผมอยากที่จะกลับมาที่นี่ มาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยและไปท่องเที่ยวในหลายๆ ที่ครับ)
Teresa : My parents already made vacation in Thailand, my father also worked in Bangkok before. I knew that Thailand is one of the most visited countries, well-known for its beautiful nature, wonderful spiritual places and of course: good food! 😉
(พ่อแม่ของฉันเคยได้มาพักผ่อนที่ประเทศไทยแล้วค่ะ และเมื่อก่อนคุณพ่อเคยทำงานที่กรุงเทพฯ ด้วย ฉันรู้มาว่าประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่คนนิยมมาเที่ยว เป็นที่รู้จักอย่างดีในเรื่องความสวยงามของธรรมชาติ ศาสนา และแน่นอน อาหารอร่อย!)
– The reaction of people around you when you told them that you will come to Thailand?
(เมื่อคุณบอกกับคนอื่นว่าคุณจะมาเมืองไทย พวกเขามีปฏิกิริยาอย่างไร)
Andi : All the people were fascinated, and a lot of friends told me that they’re going to visit me.
(ทุกคนชอบมากครับ และเพื่อนผมส่วนใหญ่บอกผมว่าพวกเขาจะมาเยี่ยมผมด้วย)
Rob : The reaction of friends in my home country was that they were excited for me and jealous of me because I was allowed a second time of exchange to Thailand. Back in Thailand some of my Thai friends were also excited to see me again studying at Srinakharinwirot University, because some Thai friends also studied at my university in The Netherlands last semester and it was good to see them again.
(ปฏิกิริยาของเพื่อนๆ ในประเทศของผมคือพวกเขาตื่นเต้นและอิจฉาผมครับ เพราะว่านี่เป็นครั้งที่ 2 แล้วที่ผมได้รับการอนุญาตให้มาเป็นนิสิตแลกเปลี่ยนที่ประเทศไทย และเพื่อนคนไทยของผมก็ตื่นเต้นด้วยเช่นกันที่ได้เห็นผมกลับมาเรียนที่ มศว อีกครั้ง เพราะเพื่อนคนไทยบางคนก็เคยได้ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยที่เนเธอร์แลนด์มาเมื่อเทอมที่แล้ว มันดีมากเลยที่ได้เจอพวกเขาอีกครั้ง)
Malo : People around me were very happy for me. Also, maybe a little impressed because it is very far away and very different than France. And the peoples around me that have been to Thailand before told me that I will enjoy for sure.
(คนรอบตัวผมมีความสุขกับผมนะครับ อาจจะประทับใจนิดหน่อยเพราะว่าประเทศไทยไกลมากและแตกต่างจากประเทศฝรั่งเศสมาก และคนรอบตัวผมที่เคยมาประเทศไทยมาก่อนบอกกับผมว่าผมต้องสนุกมากแน่นอน)
Teresa : A lot of people felt jealous and also wanted to join and come visit me.
(หลายๆ คนรู้สึกอิจฉา อยากมาด้วยและอยากมาเยี่ยมฉันค่ะ)
– Have you ever been an exchange student at SWU?
(คุณเคยมาแลกเปลี่ยนที่ มศว แล้วรึเปล่า)
Andi : No.
(ไม่เคยครับ)
Rob : Like explained above, last year I have also studied at Srinakharinwirot University for one semester, then went back to The Netherlands to do my internship and now I am back again for one semester.
(อย่างที่ได้อธิบายไปครับ ปีที่แล้วผมมาเรียนที่ มศว 1 เทอม หลังจากนั้นก็กลับไปที่เนเธอร์แลนด์เพื่อฝึกงาน และตอนนี้ผมกลับมาเรียนที่นี่อีกครั้งเป็นเวลา 1 เทอม)
Malo : No, this is my first time as an exchange student.
(ไม่เคยครับ นี่คือครั้งแรกของผมที่มาเป็นนิสิตแลกเปลี่ยน)
Teresa : No, but I can highly recommend it to everybody who is interested.
(ไม่เคยค่ะ แต่ฉันสามารถแนะนำทุกคนที่สนใจมาเรียนที่นี่ได้)
– Why did you decide to become an exchange student in Thailand? And why did you choose to attend SWU?
(ทำไมคุณถึงตัดสินใจมาแลกเปลี่ยนที่ไทย และ อะไรทำให้คุณเลือกที่จะมาแลกเปลี่ยนที่ มศว)
Andi : I heard so many good things about Thailand. Everyone who came back from a vacation in Thailand said that it was very beautiful. All these beautiful temples,
mountains, islands etc. amazed me. The SWU is a partner university so it was very easy for me to choose SWU. Furthermore, the Campus looked nice.
(ผมได้ยินเรื่องดีๆ เกี่ยวกับประเทศไทยมามากมายครับ ทุกคนที่กลับมาจากวันหยุดพักผ่อนในประเทศไทยบอกว่าประเทศไทยสวยมาก มีทั้งวัดสวย ภูเขา เกาะ ต่างๆ ทำให้ผมประหลาดใจ และ มศว เป็น partner กับ
มหาวิทยาลัยของผม ดังนั้นมันง่ายมากเลยสำหรับผมที่ผมเลือกมาเรียนที่นี่ ยิ่งไปกว่านั้น มหาวิทยาลัยดูดีมากครับ)
Rob : Srinakharinwirot University was one of many choices for me to go to as an exchange student. Because I have been here before and because I liked Srinakharinwirot University and Thailand so much, I decided to once again go to Thailand for my second time of being an exchange student.
(มศว เป็นหนึ่งในหลายตัวเลือกสำหรับผมในการที่จะเลือกมาเป็นนิสิตแลกเปลี่ยน แต่เพราะผมเคยมาที่นี่มาก่อน และผมชอบ มศว และประเทศไทยมาก ผมจึงตัดสินใจมาเป็นนิสิตแลกเปลี่ยนที่ประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2)
Malo : As I said, I already been in Thailand and I wanted to come back and become a student in Thailand was the best way for me to stay here for a long time to learn a lot about Thailand. SWU was the only choice in Thailand available.
(อย่างที่ผมบอกครับ ผมเคยมาที่ประเทศไทยแล้ว และอยากกลับมาอีก ซึ่งการเป็นนิสิตแลกเปลี่ยนคือทางที่ดีที่สุดสำหรับผมในการมาอยู่ที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นตัวเลือกเดียวในประเทศไทยครับ)
Teresa : I love the Asian culture because it’s so different to ours in Europe. The spirit, the way of living and the food are very different. I just wanted to experience new things to expand my horizon and develop my personality by making this unique journey.
(ฉันชอบวัฒนธรรมชาวเอเชีย เพราะมันแตกต่างจากวัฒนธรรมยุโรปของพวกเราอย่างมาก จิตวิญญาณ การใช้ชีวิต และอาหารแตกต่างกันมาก ฉันอยากจะเปิดประสบการณ์ในสิ่งใหม่ๆ เพื่อขยายขอบเขตของฉัน และพัฒนาตนเองด้วยการเดินทางที่ไม่เหมือนใคร)
– What is your major (at SWU)? Why did you choose this major?
(เรียนสาขา / คณะอะไร เหตุผลที่เลือกเรียนสาขาวิชานี้)
Andi : My major is economics. I was always interested in becoming a financial director of a big company e.g. Mercedes-Benz. Since my childhood I was always good in
mathematics and calculating.
(วิชาเอกของผมคือเศรษฐศาสตร์ครับ ผมสนใจที่จะเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการเงินให้กับบริษัทใหญ่ๆ อย่าง Mercedes-Benz เสมอ ผมเก่งคณิตศาสตร์และเก่งคำนวณมาตลอดตั้งแต่เด็กๆ แล้ว)
Rob : My majors this year at SWU are Economics and HTM at SWUIC. Because Tourism Management is my major in Holland, HTM is fitting and is suitable for me to attend courses from, but because it is my second time studying here, I was not allowed to take the same courses from last year, and I was not allowed to choose courses from the third year or lower. So the only possible way for me to study at SWU again was to choose courses from another faculty. Therefor I am studying at the Economics faculty as well, because I had some Economic courses back at my home university as well.
(วิชาเอกของผมที่ มศว ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ (คณะเศรษฐศาสตร์) และ HTM (Sustainable Hospitality and Tourism Management program) ที่ วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน และเพราะ Tourism Management คือวิชาเอกของผมที่ฮอลแลนด์ HTM จึงเหมาะกับผมมากกว่าที่จะเรียน แต่นี่คือครั้งที่ 2 ของผมแล้วที่มาเรียนที่นี่ ผมจึงไม่ได้รับการอนุญาตให้เลือกรายวิชาที่เหมือนปีที่แล้ว และไม่ได้รับการอนุญาตให้เลือกเรียนรายวิชาของปี 3 หรือต่ำกว่านั้น ดังนั้นทางเดียวที่เป็นไปได้สำหรับผมในการเรียนที่ มศว อีกครั้ง คือเลือกเรียนรายวิชาจากคณะอื่น ดังนั้น ผมก็เลยกำลังเรียนรายวิชาของคณะเศรษฐศาสตร์ควบคู่ไปด้วย ซึ่งผมก็เคยได้เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์มาบ้างแล้วเหมือนกันในมหาวิทยาลัยที่เนเธอร์แลนด์)
Malo : I’m not sure but I think it is sustainable tourism. I choose this major because I’m studying tourism in France and the sustainable aspect is very interesting for me.
(ผมไม่แน่ใจ แต่ผมคิดว่าเอกการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนครับ (Sustainable Tourism Management) ผมเลือกเอกนี้เพราะว่าผมกำลังศึกษาการท่องเที่ยวในประเทศฝรั่งเศส และในแง่มุมความยั่งยืนนั้นน่าสนใจมากสำหรับผมครับ)
– What it’s like to live far away from your home country?
(รู้สึกอย่างไรบ้างเมื่อต้องห่างไกลบ้านเกิด)
Andi : Sometimes I miss my home, but I am happy to be here in Thailand. It’s the first time that I’m living by myself and I’m really enjoying my freedom to be honest.
(บางครั้งผมก็คิดถึงบ้านครับ แต่ผมมีความสุขนะที่ได้มาอยู่ที่นี่ นี่คือครั้งแรกเลยที่ผมมาอาศัยอยู่ด้วยตัวคนเดียว พูดจริงๆ เลยว่า ผมรู้สึกมีความสุขและอิสระมากครับ)
Rob : I do not have any problems with living in Thailand/abroad for 5/6 months because I really enjoy life here and I have many Thai and exchange friends I can hang out with. Once in a while I facetime my family too, so I am not homesick at all.
(ผมไม่มีปัญหาในการมาอยู่ที่ประเทศไทยหรือต่างประเทศในระยะเวลา 5-6 เดือนเลย เพราะว่าอยู่ที่นี่ผมสนุกมาก ผมมีเพื่อนคนไทยและเพื่อนนิสิตแลกเปลี่ยนที่ผมสามารถออกไปเที่ยวด้วยได้ นานๆ ที ผมก็จะ facetime กับครอบครัว เพราะฉะนั้นผมเลยไม่รู้สึกคิดถึงบ้านเลย)
Malo : I had little fears about that before to come but I feel very good here. Thai people are very friendly, I feel welcome everywhere. I just sometimes miss French food but Thai food is so good that I don’t really care.
(ผมกลัวนิดหน่อยก่อนมาที่นี่ แต่ตอนนี้ผมรู้สึกดีมากที่ได้มาอยู่ที่นี่ คนไทยเป็นมิตรมาก ผมรู้สึกดีในทุกที่ บางครั้งผมก็คิดถึงอาหารฝรั่งเศสนะ แต่อาหารไทยคือดีมากจนทำให้ผมลืมไปเลยครับ)
Teresa : On the one hand, I miss my home, my family and my friends. But on the other hand, I see and learn new things everyday which I would not in my natural habitat. It helps me to become more open-minded and develop my personality.
(ฉันคิดถึงบ้าน ครอบครัว และเพื่อนๆ นะคะ แต่ในทางกลับกัน ฉันได้เห็นและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทุกวัน มันช่วยให้ฉันกลายเป็นคนที่เปิดใจและได้พัฒนาตัวเอง)
– What is the difficult situation you’ve faced at SWU?
(สถานการณ์ยาก ๆ ที่คุณเจอที่ มศว)
Rob : Because it is my second time studying at SWU, it took a long time before all my courses got approved and it took a long time before I got permission to study at SWU, both from my home university and from SWU. Because normally it is not common to study at two faculties at the same time. And I think there are also normally no exchange students at the Economics faculty. But thanks to the Ajarns and deans who helped me a lot I was able to study at SWU again, which I am really thankful for.
(เพราะว่านี่คือครั้งที่ 2 ของผมที่มาเรียนที่นี่ มันเลยใช้เวลานานมากก่อนที่รายวิชาของผมจะได้รับการอนุมัติ และใช้เวลานานมากกว่าจะได้รับการอนุญาตให้มาเรียนที่ มศว / ทั้ง 2 ที่เลย ทั้งมหาวิทยาลัยที่เนเธอร์แลนด์และที่ มศว ด้วย เพราะปกติแล้ว มันผิดปกติที่จะเรียน 2 คณะพร้อมกันในเวลาเดียวกัน และผมคิดว่า ปกติแล้วคณะเศรษฐศาสตร์ไม่มีนิสิตแลกเปลี่ยน แต่ต้องขอบคุณอาจารย์และท่านคณบดี ซึ่งช่วยเหลือผมมากๆ ทำให้ผมสามารถมาเรียนที่ มศว ได้อีกครั้ง ผมอยากขอบคุณมากๆ ครับ)
Teresa : It’s not a difficult but an unusual one: to wear school uniforms. But I figured out that I would love having unitary clothing in Germany. The feeling of solidarity is very high and you don’t have to think about what to wear in the morning so you save time.
(ไม่มีสถานการณ์อะไรยากลำบากแต่แค่ไม่คุ้นชิน อย่างเรื่องการสวมใส่เครื่องแบบนิสิต แต่ฉันคิดนะคะว่าอยากให้มีแบบนี้ที่เยอรมนีด้วย จะได้รู้สึกถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แถมยังไม่ต้องคิดด้วยว่าวันนี้จะใส่อะไรในตอนเช้า ประหยัดเวลาค่ะ)
– What impresses you at SWU? (friends, teacher etc.)
(คุณประทับใจอะไรที่ มศว (เพื่อน อาจารย์ ฯลฯ ))
Andi : All the students and teachers were from begin on really kind to us. When I needed help with something, everyone tried to answer me my questions.
(นิสิตและอาจารย์ทุกคนใจดีกับพวกเรามากครับ เมื่อไหร่ที่ผมต้องการความช่วยเหลือ พวกเขาจะพยายามช่วยเหลือตลอด)
Rob : What impresses me at SWU is the amount of respect students have towards each other, but especially towards teachers. In Holland students do not have as much respect to their teachers as here in Thailand, and Dutch people can definitely learn a lot from Thai people when it comes to showing respect to others.
(สิ่งที่ทำให้ผมประทับใจที่ มศว คือ ความเคารพที่นิสิตมีต่อกัน โดยเฉพาะความเคารพที่มีต่ออาจารย์ ในฮอลแลนด์ นิสิตจะไม่เคารพอาจารย์เท่าที่ประเทศไทย ชาวดัตช์สามารถเรียนรู้จากคนไทยได้มากอย่างแน่นอนเลยเมื่อต้องแสดงความเคารพต่อผู้อื่น)
Malo : The relation between teacher and students impresses me because it is a close relation with a lot of respect. I am also impressed about how friendly everyone is here.
(ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนิสิตทำให้ผมประทับใจครับ เพราะเป็นความสัมพันธ์ที่สนิทสนมและเต็มไปด้วยความเคารพ ผมยังประทับใจเกี่ยวกับความเป็นมิตรของทุกคนที่นี่ด้วยครับ)
Teresa : I loved the orientation days at the beginning of the semester. Everybody was so kind and it was perfectly organized. When the classes started, the Thai students showed a lot of interest towards us Internationals. They helped us immediately when we had any questions.
Furthermore, I love how interactive the classes are in Thailand: teachers don’t have a monologue but try to include the students as much as possible.
(ฉันชอบวันปฐมนิเทศในช่วงต้นเทอมค่ะ เจ้าหน้าที่ทุกคนใจดีมากและจัดงานปฐมนิเทศได้อย่างยอดเยี่ยม เมื่อเปิดเรียนแล้ว นิสิตไทยได้แสดงความน่าสนใจหลายๆ อย่างต่อนิสิตต่างชาติอย่างพวกเรา พวกเขาช่วยเหลือพวกเราทันทีเมื่อพวกเรามีคำถามใดๆ ยิ่งไปกว่านั้น ฉันชอบการปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน อาจารย์ไม่ได้พูดบรรยายคนเดียวแต่พยายามที่จะให้นิสิตมีส่วนร่วมให้มากที่สุด)
– Except Bangkok, have you ever been to anywhere else in Thailand?
(นอกจากกรุงเทพคุณได้ไปเที่ยวที่ไหนอีกบ้าง)
Andi : I was in Koh Samui and in Kho Phan-gan for the fullmoon party, but these won’t be the only destinations. In addition, I’m planning to go to the mountains in the
north of Thailand and in the south to the islands.
(ผมเคยไปเกาะสมุย และเกาะพะงัน เพื่อไป fullmoon party ครับ แต่นี่จะไม่ใช่แค่นี้นะครับ ผมวางแผนจะไปภูเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย และจะไปเกาะทางใต้ด้วย)
Rob : Last year I have travelled to quite some places in Thailand like Chiang Mia, Ayutthaya, Krabi, Phi Phi Islands, Koh Larn, Pattaya & Koh Chang. This year I have been travelling to some more places as well like Koh Mak & Koh Samui, and I am planning to travel to some more places in Thailand as well.
(ปีที่แล้วผมได้ไปเที่ยวมาหลายที่เลย อย่างเชียงใหม่ อยุธยา กระบี่ เกาะพีพี เกาะล้าน พัทยา เกาะช้าง ปีนี้ผมก็ได้ไปเที่ยวเพิ่มมาอีกคือเกาะหมาก เกาะสมุย และผมกำลังวางแผนจะไปเที่ยวที่อื่นๆ ในประเทศไทยเพิ่มเติมอีกด้วย)
Malo : I’ve been in Chang-mai, Chang-rai, Hua Hin, Sukhotai, Ayuttaya, Koh Samui and Koh Tao.
(ผมเคยไปเชียงใหม่ เชียงราย หัวหิน สุโขทัย อยุธยา เกาะสมุย และเกาะเต่าครับ)
Teresa : Yes, with other internationals we’ve been in Ko Samui and Kho Pangan to go to the full moon party. It was quite a nice and unforgettable experience and was good to see some nature after being for weeks in Bangkok.
(ฉันได้ไปเกาะสมุย เกาะพะงัน ไป full moon party กับนิสิตต่างชาติด้วยกันค่ะ มันค่อนข้างดีและเป็นประสบการณ์ที่ลืมไม่ลงเลยทีเดียว และดีที่ได้เห็นธรรมชาติบ้างหลังจากที่อยู่ในกรุงเทพฯ เป็นเวลาหลายอาทิตย์)
– What is the different between Thailand and your country?
(อะไรคือจุดแตกต่างหรือเหมือนกันระหว่างประเทศไทยและประเทศของคุณ)
Andi : Traffic and the people in general. The traffic in Germany on the highways can be sometimes horrible but I think nothing can stop the horrible traffic in Bangkok.
The people in Thailand are more friendly and always smiling.
(การจราจรและผู้คนครับ การจราจรในเยอรมนีบนทางหลวงบางครั้งก็เลวร้าย แต่ผมคิดว่าไม่มีอะไรหยุดความเลวร้ายของการจราจรในกรุงเทพฯ ได้ครับ ผู้คนในประเทศไทยเป็นมิตรมากกว่าและยิ้มแย้มตลอดเวลาครับ)
Rob : Some differences between Thailand and Holland are like stated above the amount of respect Thai people have towards each other and the (street)food culture. Dutch people are also more direct and will say whenever the agree or disagree with something.
(ความแตกต่างระหว่างประเทศไทยและฮอลแลนด์อย่างที่พูดไปคือความเคารพของคนไทยที่มีต่อผู้อื่น และวัฒนธรรมอาหาร (สตรีทฟูด) และอีกอย่างชาวดัชต์จะพูดตรงกว่าเมื่อเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยในบ้างเรื่อง)
Malo : University system is very different (small classes, attendance, uniforms). We also don’t have Buddhism influence in France.
(ระบบของมหาวิทยาลัยแตกต่างกันมากครับ (ชั้นเรียนเล็ก การเข้าชั้นเรียน เครื่องแต่งกาย) อีกอย่าง พวกเราไม่ได้รับอิทธิพลทางพระพุทธศาสนาในประเทศฝรั่งเศสด้วยครับ)
Teresa : Of course, the climate is very different. The temperature which Thais declare as “Thai winter” is almost the summer in Germany – but after a while you get used to it and learn to love it. Furthermore, people in Thailand are very collectivistic, while Germans are more individualistic – everybody is very kind and helpful.
(แน่นอนว่าสภาพอากาศแตกต่างกันค่ะ อุณหภูมิที่คนไทยเรียกว่าหน้าหนาวของประเทศไทย เกือบจะเป็นหน้าร้อนของประเทศเยอรมนีค่ะ แต่หลังจากนั้นสักพักฉันก็ชินกับมันและเรียนรู้ที่จะชอบมันนะคะ นอกจากนี้ ผู้คนในประเทศไทยมีความเป็นกลุ่มก้อนสูง ในขณะที่คนเยอมนีจะมีความเป็นปัจเจกนิยมมากกว่า คนไทยทุกคนใจดีมากและช่วยเหลือค่ะ)
– Do you have problems to communicate with Thai friends or Thai people?
(คุณมีปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารกับเพื่อนๆหรือคนไทยบ้างรึเปล่า)
Andi : No, all my Thai friends can speak English and I’m also learning some basic words in Thai.
(ไม่มีครับ เพื่อนคนไทยของผมทั้งหมดพูดภาษาอังกฤษได้ และผมกำลังเรียนคำศัพท์ภาษาไทยพื้นฐานอยู่ครับ)
Rob : Luckily many Thai friends speak English, so I can communicate with them, but outside or on the streets it is often difficult to communicate with Thai people, because they don’t speak English.
(โชคดีที่เพื่อนคนไทยของผมพูดภาษาอังกฤษ ดังนั้นผมจึงไม่มีปัญหาเรื่องการสื่อสารกับพวกเขา แต่สำหรับคนไทยทั่วไปหรือตามท้องถนน มักจะค่อนข้างยากที่จะสื่อสารด้วยเพราะว่าพวกเขาไม่พูดภาษาอังกฤษ)
Malo : Sometimes it is hard to understand English because of the accent. But when people don’t speak English it easy to communicate with google translate.
(บางครั้งมันยากมากครับที่จะเข้าใจภาษาอังกฤษเนื่องจากสำเนียง แต่เมื่อทุกคนไม่พูดภาษาอังกฤษกัน มันก็ง่ายที่จะสื่อสารกันด้วย google translate ครับ)
Teresa : Indeed I attend the class “Thai for communication” in Thailand where I learn the basic skills of Thai language and culture, but in daily life I try to speak English most of the time – That’s where it comes to difficulties because many Thai people can’t speak English very well. But somehow – even with hands and feet – you can always communicate with them.
(จริงๆ ฉันได้เรียนรายวิชา Thai for communication นะคะ ซึ่งฉันได้เรียนรู้ภาษาไทยขั้นพื้นฐานและวัฒนธรรมไทย แต่ในชีวิตประจำวันฉันพูดภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เลยทำให้เป็นเรื่องยากเพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่พูดภาษาอังกฤษ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยภาษากายแล้ว คุณสามารถสื่อสารกับคนไทยได้เสมอ)
– What do you like the most in Thailand?
(คุณชอบอะไรมากที่สุดในประเทศไทย)
Andi : The Big City Lifestyle, the people, the islands, etc.
(ชอบชีวิตในเมือง ผู้คน แล้วก็เกาะครับ)
Rob : Some things I like the most in Thailand are how nice and friendly the people are, the weather of course is often very nice, and I like the beautiful nature you can find in Thailand, from beautiful jungles to mountains to beaches, Thailand has it all.
(สิ่งที่ผมชอบที่สุดในประเทศไทยคือความใจดีและความเป็นมิตรของผู้คน แน่นอนว่าอากาศก็มักจะดีมากๆ และผมชอบความสวยงามของธรรมชาติที่สามารถพบได้ในประเทศไทย จากป่า ภูเขา ทะเล ประเทศไทยมีทั้งหมดเลยครับ)
Malo : There is a lot of things that I like here. Maybe food is what I like the most because I’m discovering new dishes almost every day and it is very different than what I am used to and it is very tasty.
(มีหลายอย่างเลยครับที่ผมชอบที่นี่ อาหารอาจจะเป็นสิ่งที่ผมชอบมากที่สุด เพราะว่าผมกำลังสำรวจเมนูใหม่ๆ เกือบทุกวัน ซึ่งมันแตกต่างกันมากและอร่อยมากด้วยครับ)
Teresa : Thai cuisine! I just love the variety of new food, I’ve never tried before and the possibility to buy it everywhere on the streets. It’s so different to European food – I will definitely miss it!
(อาหารไทยค่ะ! ฉันชอบความหลากหลายของอาหารใหม่ๆ ที่ฉันไม่เคยลิ้มลองมาก่อน อีกทั้งยังสามารถหาซื้อได้จากทุกที่บนท้องถนนอีก มันแตกต่างจากอาหารยุโรปมาก ฉันต้องคิดถึงอาหารไทยแน่ๆ!)
✏️ เรื่อง : Keerati/Sirima
📸 ภาพ : kritsuwat