นับตั้งแต่มีการริเริ่มตั้ง “ตู้ปันสุข” เกิดขึ้นจาก “กลุ่มอิฐน้อย” ในพื้นที่ไม่กี่แห่งของกรุงเทพฯ ชั่วข้ามคืนและไม่กี่วันถัดมาก็แพร่ขยายไปในหลายพื้นที่ หลายจังหวัดทั่วประเทศไทย รวมทั้งการตั้งตู้แบ่งปันความสุขของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ของเราที่ประสานมิตร โดยล่าสุด รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดีและ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พินิจ เทพสาธร รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนากายภาพและสิ่งแวดล้อม ก็ได้ร่วมกันนำอาหารแห้ง ขนมและน้ำดื่ม มศว ไปใส่ในตู้แบ่งปันความสุขทั้ง 3 จุด 3 ตู้ ใน มศว ประสานมิตร “ในขณะนี้เราตั้งตู้แบ่งปันความสุขที่ มศว ประสานมิตร ก่อน 3 ตู้ 3 จุดที่บริเวณทางเข้ามหาวิทยาลัยประตู 1 ถนนสุขุมวิท 23 จุดที่ 2 ตั้งที่บริเวณทางเข้าถนนอโศกมนตรี จุดที่ 3 ที่บริเวณท่าเรือคลองแสนแสบ และเราจะมีที่ มศว องครักษ์ จ.นครนายก ด้วยเช่นกัน ตู้แบ่งปันความสุขนี้ก็เหมือนตู้ปันสุขที่อื่นๆ ที่ว่าใครมีก็นำข้าวของอาหารมาบริจาคใส่ตู้ได้ ใครไม่มีก็มาหยิบฟรีไปบริโภคได้ โดยเผื่อแผ่ให้คนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน” รองฯ พินิจ กล่าว
เหรียญมี 2 ด้านฉันใด พฤติกรรมการหยิบของกินของใช้จากตู้แบ่งปันความสุขของคนก็มีฉันนั้น แม้ผู้ให้จะถือว่าให้แล้วก็ไม่คิดอะไร ใครจะหยิบมากหยิบน้อยก็สุดแต่ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี มีสำนึกของคนคนนั้น เมื่อมีกลุ่มคนที่มีจิตสาธารณะ อยากช่วยเหลือแบ่งปันให้กับผู้อื่นโดยเฉพาะในยามที่คนส่วนใหญ่ของประเทศกำลังเดือดร้อน จึงได้เกิดโครงการ “ตู้ปันสุข” เพื่อให้ผู้ที่มีจิตสาธารณะอยากจะแบ่งปัน นำอาหารต่างๆ มาใส่ตู้เอาไว้ และหากใครอยากได้อาหารชิ้นไหนก็สามารถมาหยิบไปได้เลย เพียงแต่ผู้รับเองก็ต้องมีจิตสาธารณะเช่นเดียวกันคือหยิบไปแต่พอดี เท่าที่จะบริโภค เพื่อให้มีอาหารเหลือเผื่อแผ่ให้ผู้เดือดร้อนที่มาทีหลังด้วย
“ผมอยากให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งความเกื้อกูลและแบ่งปัน (ทั้งผู้ให้และผู้รับ) ขณะที่ มศว ของเราก็เป็นสังคมของการ “ให้” เพราะเราเป็นมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม อะไรที่มหาวิทยาลัยจะสามารถเป็นที่พึ่งพาของชุมชนสังคมได้ เราก็จะทำทันที นี่ก็เป็นอีกหนึ่ง New Normal หรือวิถีชีวิตใหม่ท่ามกลางวิกฤตโควิดที่เกิดขึ้น ซึ่งโครงการตู้แบ่งปันสุขนี้ได้พิสูจน์แล้วว่าเราคนไทย ไม่ทิ้งกัน เหมือนมหาวิทยาลัยก็จะไม่ทิ้งสังคมด้วยเช่นกัน” อธิการบดีกล่าว

ตู้แบ่งปันสุข มศว : สังคมแห่งการเอื้อเฟื้อและแบ่งปัน New Normal ท่ามกลางวิกฤตโควิด
Related Articles
ศ.ดร.โกสุม จันทร์ศิริ รับรางวัลงานวิจัย “เหรียญทอง” “Rapid DNA strip test for COVID-19”
ขอร่วมแสดงความยินดีกับศาสตราจารย์ ดร.โกสุม จันทร์ศิริ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)…
เปิดใจ รองชลวิทย์ ผู้กุมบังเหียน “มศว เพื่อสังคม มหาวิทยาลัยรับใช้สังคม”
รศ.ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์เพื่อสังคม และ รักษาการแทนคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และเป็นผู้ประสานงานความร่วมมือทางวิชาการกับเครือ “มติชน” และรับบทบาทหน้าที่ใหม่ล่าสุดด้วยตำแหน่ง รองอธิการบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์เพื่อสังคม กับภารกิจใหญ่ทั้งเรื่องของแผนยุทธศาสตร์งบประมาณและงานกิจการเพื่อสังคมที่คุ้นเคยของมหาวิทยาลัย ตามนโยบายที่ท่านอธิการบดี รศ.ดร.สมชาย…
ผ้าไหมแนวทางใหม่ ในวิถีใหม่ (New Normal) งานวิจัยสร้างสรรค์ มศว เราจะอยู่กับผ้าไทยได้ทุกวัน
New Normal หรือวิถีใหม่ อาจมิได้หมายความเฉพาะการใช้ชีวิตใหม่ในช่วงที่ผู้คนทั่วโลกต่างกำลังเผชิญสู้กับโรคระบาดโควิด-19 ผ่านมาปีหนึ่งแล้วและไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ ในวงการแฟชั่นเองก็ได้มุ่งมั่นทำงานวิจัยใหม่ๆ ให้สอดรับกับการใช้ชีวิตวิถีใหม่ด้วยเช่นกัน เฉกเช่นงานวิจัยผ้าไหมไทยผสมผสานกับผ้าทอพื้นถิ่นหลากหลายของอาจารย์วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ร่วมกับกรมหม่อนไหม